ช่างคอมพิวเตอร์
ICT computer & Surat 2
การซ่อมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
รูปแบบการตรวจเช็คและการ ซ่อมคอมพิวเตอร์ เบื้องต้น
อาการเสียของคอมพิวเตอร์มีหลากหลายแบบและบางอาการเราก็สามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ แต่บางอาการก็ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญหรือช่างเฉพาะทาง ดังนั้นวันนี้เราจะมาพูดถึงการตรวจเช็คคอมพิวเเตอร์ ที่เราสามารถ ตรวจเช็คและแก้ไขเองได้ ส่วนใหญ่ถ้าเป็นโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ อาจจะทำอะไรไม่ได้มาก อาจจะต้องส่งศูนย์บริการหรือร้านซ่อมคอมพิวเตอร์ที่เชื่อถือได้ แต่ก็มีบางส่วนที่เราสามารถตรวจสอบเองได้ แยกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ดังนี้
– ซอฟต์แวร์ (Software) เช่น ระบบปฏิบัติการ,โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ เช่น Microsoft Office Word,Excel,Power Point เป็นต้น
– ฮาร์ดแวร์ (Hardware) เช่น เมนบอร์ด,ซีพียู,แรม,ฮาร์ดดิกส์ เป็นต้น
วิธีตรวจ ซ่อมคอมพิวเตอร์
การประเมินจากอาการที่เกิดขึ้น กรณีที่ยังสามรถเปิดเครื่องได้ และเข้าระบบปฏิบัติการ (Windows) ได้
การประเมินจากอาการที่เกิดขึ้น กรณีที่ยังสามรถเปิดเครื่องได้ แต่ไม่สามารถเข้าระบบปฏิบัติการ (Windows) ได้
การประเมินจากอาการที่เกิดขึ้น กรณีที่เครื่องไม่ทำงานเลย ไฟไม่เข้าระบบ พัดลมไม่หมุน
การตรวจประเมินจะมีหลักอยู่ประมาณ 2 ส่วน อย่างที่กล่าวมาข้างต้น เรามาดูว่า แต่ละอย่างการตรวจประเมินอาการเสียน่าจะมีอะไรบ้างและต้องเช็คจุดไหนก่อน เราไปดูตัวแรกก่อนเลย.
กรณีที่ยังสามรถเปิดเครื่องได้ สามารถเข้าระบบปฏิบัติการ (Windows) ได้
อาการที่เกิดขึ้นกับกรณีนี้ มีหลากหลายอาการจะลองยกตัวอย่างอาการที่เกี่ยวเนื่องและโอกาศที่จะเกิดขึ้นได้ มีอะไรบ้างดังนี้
เครื่องทำงานช้า
เข้าวินโดว์ได้สักพักค้าง
เข้าวินโดว์ได้สักพักจอฟ้า
เข้า Windows Explorer ไม่ได้
คอร์เซอร์เม้าส์หมุนค้างตลอดเวลา
เปิดโปรแกรมไม่ได้
มีหน้าต่างแจ้งเตือนตลอดเวลา
ดูวีดีโอแล้วภาพค้าง กระตุก
อาการที่ว่ามาข้างต้น ส่วนมากแล้วจะมาจาก ระบบปฏิบัติการไม่สมบูรณ์ หรือ อาจจะมาจากการอัพเดทระบบไม่สมบูรณ์ ส่งผลทำให้การทำงานต่างๆ เหล่านี้มีผลกระทบ ต่อผู้ใช้งาน แนวทางการแก้ไขปัญหาข้างต้นมีดังนี้ (สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ทุกชนิด)
ตรวจสอบและอัพเดทระบบปฏิบัติการอีกครั้ง
ลบโปรแกรมที่มีปัญหาและติดตั้งใหม่
สแกนไวรัสอีกครั้ง
ติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่ (ข้อมูลจะหายต้องสำรองข้อมูลก่อนทุกครั้ง)
Reset ระบบปฏิบัติการ (ข้อมูลจะหายต้องสำรองข้อมูลก่อนทุกครั้ง)
ติดตั้งไดร์เวอร์ของอุปกรณ์ต่างๆ ให้ถูกต้องและครบถ้วน
ถ้าดำเนินการตรวจเช็คและแก้ไขแล้วยังพบปัญหา แนะนำให้ส่ง้ครื่องให้ศูนย์บริการตรวจสอบ
กรณีที่ยังสามรถเปิดเครื่องได้ แต่ไม่สามารถเข้าระบบปฏิบัติการ (Windows) ได้
อาการที่เกิดขึ้นกับกรณีนี้ มีหลากหลายอาการจะลองยกตัวอย่างอาการที่เกี่ยวเนื่องและโอกาศที่จะเกิดขึ้นได้ มีอะไรบ้างดังนี้ ส่วนนี้จะต้องวิเคราะห์ฮาร์ดแวร์เป็นหลัก ต้องมีความรู้พื้นฐานในการแกะและประกอบอุปกรณ์ด้วย อาการที่ว่านี้จะสามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เท่านั้น.
ไม่สามารถบูธเข้าวินโดว์ได้เลยหรือบูธวนไปวนมา
ใช้ระยะเวลาในการบูธนานมาก และไม่สามารถเข้าหน้าวินโดว์ได้
เปิดเครื่องมาระบบ เป็นหน้า BIOS ไม่สามารถไปต่อ
เปิดเครื่องมามีแต่ตัวหนังสือสีขาว พื้นสีดำ
เปิดเครื่องมามีแต่ตัวหนังสือสีขาว พื้นสีฟ้า
เปิดเครื่องพัดลมหมุนแต่ ไม่มีอะไรแสดงที่หน้าจอ
เปิดเครื่อง พัดลมติดแล้วดับ วนไปเรื่อยๆ
เปิดเครื่องแล้วมีเสียงเตือน
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
จอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอมอนิเตอร์ เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้แสดงผลภาพและข้อมูลต่าง ๆ ที่ส่งมาจากหน่วยประมวลผลกราฟิกภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ผู้ใช้งานได้เห็น โดยในยุคสมัยก่อนจะเป็นจอซีอาร์ที (CRT) ที่มีความหนาเป็นทรงกล่องสี่เหลี่ยม ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนมาใช้จอแอลซีดี (LCD) ที่มีความบางแบบในยุคปัจจุบัน พร้อมกับอัตราส่วนจอภาพแบบ Wide Screen ที่มีความกว้างมากกว่าเดิม โดยหน้าจอมอนิเตอร์จะมีหลายขนาดและมีความละเอียดที่แตกต่างกันออกไปให้เลือกใช้ตามความต้องการ
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
2. เมนบอร์ด (Mainboard)
3. ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk )
4.แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)